วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประเพณีไทย ความเป็นมาของประเพณีลอยกระทง

ความเป็นมาของประเพณีลอยกระทง ลอยกระทง เป็นพิธีกรรมร่วมกันของผู้คนในชุมชน หรือภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีมาแต่ยุคดึกดำบรรพ์ เพื่อขอขมาต่อธรรมชาติ แต่ไม่มีหลักฐานยืนยันแน่นอนว่าลอยกระทงเริ่มมีมาตั้งแต่เมื่อไหร่ ผู้คนในสุวรรณภูมิรูว่าชีวิตอยู่ได้ก็เพราะน้ำและดินเป็นสำคัญและน้ำเป็นสิ่งที่น้ำสำคัญที่สุดแก่ชีวิตของคนเราหากเราขาดแคลนน้ำก็จะทำให้ชีวิตเรารำบากมากยิ่งขึ้น ดังนั่น เมื่อคนเรามีชีวิตอยู่รอดได้ปีหนึ่ง จึงทำพิธีขอขมาสิ่งที่ได้ล่วงล้ำก่ำเกินโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ด้วยการใช้วัสดุที่ย้อยสลายได้และสามารถลอยน้ำได้ใส่เครื่องเส้นไหว้ให้ลอยไปกับน้ำ สำหรับราชสำนักกรุงศรีอยุธยา ที่อยู่บริเวณราบลุ่มน้ำ และมีน้ำท่วมนานหลายเดือน ก็เป็นศูนย์กลางสำคัญที่จะสร้างสรรค์ประเพณีเกี่ยวกับน้ำขึ้นมาเป็น ประเพณีหลวง ของอาณาจักร ประเพณีลอยกระทงเป็นประเพณีที่ชาวไทยส่วนใหญ่ให้การนับถือและให้การยอมรับเป็นประเพณีที่สืบต่อกันมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งประเพณีลอยกระทงได้จัดขึ้นทุกๆปีในศิลาจารึกสมัยสุโขทัยและเอกสารร่วมสมัยก็ไม่ มีปรากฏชื่อ “ลอยกระทง” แม้แต่ในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงก็มีแต่ชื่อ “เผาเทียน เล่นไฟ” ที่มีความหมายอย่างกว้างๆ ว่า การทำบุญไหว้พระ ส่วนเอกสารและวรรณคดีสมัยกรุงศรีอยุธยาสมัยแรกๆ ก็มีแต่ชื่อ ชักโคม ลอยโคม แซวนโคม และลดชุดลอยโคมลงน้ำ ในพิธีพราหมณ์ของราชสำนักเท่านั้น และแม้แต่ในสมัยกรุงธนบุรีก็ไม่มีชื่อนี้จนถึงยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์จึงมีปรากฏชัดเจนในพระราชพงศาวดารแผ่นดิน รัชกาลที่ ๓ฉบับ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์และเรื่องนางนพมาศ พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๓ ซึ่งก็หมายความว่า คำว่า “ลอยกระทง” เพิ่งปรากฏในต้นกรุงรัตนโกสินทร์นี้เองอนึ่ง ประเพณีลอยกระทงที่ทำด้วยใบตองในระยะแรก จำกัดอยู่แต่ในราชสำนักกรุงเทพฯ เท่านั้น ซึ่งมีรายละเอียดพรรณาอยู่ในหนังสือพระราชพงศาวดาร รัชกาลที่ ๓ ว่ากรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ ราชธิดาองค์โปรดได้แต่งกระทงเล่นทุกปี เมื่อนานเข้าก็เริ่มแพร่หลายสู่ราษฎรในกรุงเทพแล้วขยายไปยังหัวเมืองใกล้เคียงในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และกว่าจะเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วประเทศก็ประมาณปี พ.ศ.๒๕๐๐ หรือก่อนหน้านั้นไม่นานนัก ส่งผลให้เกิด “เพลงลอยกระทง” ในจังหวะของสุนทราภรณ์ ที่เผยแพร่ผ่านทางวิทยุกระจายเสียง จนในที่สุดลอยกระทงก็ถือเป็นประเพณีที่สำคัญของคนไทยทั่วประเทศ






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น