วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประเพณีไทย ลอยกระทงภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ

ประเพณีลอยกระทงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การลอยกระทงของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียกว่า เทศกาลไหลเรือไฟ จัดเป็นประเพณียิ่งใหญ่ในหลายจังหวัด เช่น จังหวัดนครพนม โดยการนำหยวกกล้วยหรือวัสดุต่างๆ มาตกแต่งเป็นรูปพญานาคและรูปอื่นๆ ตอนกลางคืนจุดไฟปล่อยให้ไหลไปตามลำน้ำโขงดูสวยงามตระการตาซึ่งเป็นพิธีที่ได้สืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้ ความเป็นมาของประเพณีไหลเรือไฟ ประเพณีไหลเรือไฟเป็นประเพณีสำคัญอย่างหนึ่งที่ชาวอีสานสืบทอดปฏิบัติในเทศกาลออกพรรษา ทำกันในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ ถึงแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ตามแม่น้ำลำคลอง จังหวัดที่มีการไหลเรือไฟปัจจุบันคือ จังหวัดศรีสะเกษ สกลนคร นครพนม หนองคาย เลย และอุบลราชธานี โดยเฉพาะชาวนครพนมนั้นถือเป็นประเพณีสำคัญมาก เรือไปหรือที่ภาษาถิ่นเรียกกันว่า เฮือไฟ เป็นเรือที่ทำด้วยกล้วยหรือไม้ไผข้างในของเรือบรรจุด้วยข้าวต้มมัดหรือสิ่งของที่เราต้องการจะบริจาค ข้างนอกมีเรือมีดอกไม้ ธูปเทียน ตะเกียง ขี้ไต้ สำหรับจุดเรือให้สว่างไสวก่อนที่จะปล่อยเรือ ซึ่งเรียกว่า การไหลเรือไฟมูลเหตุของการไหลเรือไฟนั้นมีคตินิยมเช่นเดียวกับการลอยกระทง มีประเด็นความเชื่อ คือ ๑.ความเชื่อเกี่ยวกับการบูชารอยพระพุทธบาท ๒.ความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาพระรัตนตรัย ๓.ความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาพระแม่น้ำคงคา ๔.ความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาพญานาค เรือไฟโบราณ ใช้ต้นกล้วยต่อกันเป็นแพรให้มีลักษณ์คล้ายกาบกล้วยตกแต่งด้วยดอกไม้สดที่หาได้ตามท้องถิ่น พร้อมวัสดุต่างๆตามความเชื่อของคนในท้องถิ่นใส่ลงไปภายในตัวเรือ เรือไฟขนาดใหญ่ ทำด้วยไม้ไผ่มัดต่อกันเป็นแพลูกบวบ ขึ้นโครงไม้ไผ่เป็นฉากดัดโครงลวดเป็นรูปทรงต่างๆ ส่วนใหญ่จะประดิษฐ์เป็นรูปเรือ รูปพญานาค นำไปผูกติดกับโครงไม้ไผ่ ใช้ขี้ไต้หรือขวดน้ำมันใส่ใส้ผูกติดกับโครงลวดเป็นระยะขึ้นอยู่กับรูปภาพที่กำหนด






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น